เซียวเหยาส่าน (Xiaoyaosan)

เซียวเหยาส่าน (逍遥散)

สรรพคุณ
รักษาอาการชี่ของตับติดขัดไม่หมุนเวียน เลือดพร่อง แสดงออกโดยมีอาการปวดชายโครง ปวดศีรษะ ตาลาย ปากขม คอแห้ง อ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้น้อย หรือมีอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาว สตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ แน่นและตึงบริเวณทรวงอก ลิ้นแดงซีด ชีพจรตึงและพร่อง
ตำรับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมในผู้ป่วยรายที่มีเลือดพร่อง ชี่ตับติดขัด แสดงออกโดยเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เยื่อหุ้มทรวงอกอักเสบ โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง โรคประสาทอ่อนและประจำเดือนผิดปกติ

ส่วนประกอบ

柴胡 Radix Bupleuri ไฉหู 15 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋จู๋ 15 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 15 กรัม
生姜 (煨) Rhizoma Zingiberis Recens Praeparata เซิงเจียง (เวย์) 3 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่า (จื้อ) 6 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 15 กรัม
白芍 Radix Paeoniae Alba ไป๋เสา 15 กรัม
薄荷 Herba Menthae ป๋อเหอ 3 กรัม

วิธีใช้
ใช้เซิงเจียง (เวย์) กับ ป๋อเหอ ต้มกับน้ำ นำมาใช้เป็นน้ำกระสายยาของตัวยาอื่นที่เหลือซึ่งอบแห้งและบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 6-9 กรัม หรือทำในรูปยาต้มโดยปรับลดน้ำหนักยาลงครึ่งหนึ่งจากตำรับยาข้างต้น
การออกฤทธิ์
คลายเครียด ผ่อนคลายชี่ของตับ เสริมเลือด และบำรุงม้าม

คำอธิบายตำรับ

柴胡ไฉหู ตัวยาหลัก ขมเผ็ด เย็น เล็กน้อย ขับกระจายลดไข้ แก้ตัวร้อน ผ่อน คลายตับ และช่วยให้หยางชี่ขึ้นสู่ ส่วนบน ผ่อนคลาย คลายเครียด
白术ไป๋จู๋ ตัวยาเสริม ขม อมหวาน อุ่น บำรุงชี่ เสริมม้ามให้แข็งแรง แก้ ความชื้น ระบายน้ำ ระงับเหงื่อ กล่อมครรภ์
茯苓ฝูหลิง (โป่งรากสน) ตัวยาเสริม หวาน เล็กน้อย กลาง ระบายความชื้นและน้ำ เสริมม้าม ให้แข็งแรง สงบจิตใจ
生姜 (煨) เซิงเจียง (เวย์) (ขิงสดปิ้ง) ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ให้ความอบอุ่นแก่ส่วนกลาง (กระเพาะอาหาร) ระงับอาเจียน และ ให้ความอบอุ่นแก่ปอด ระงับไอ
甘草 (炙) กันเฉ่า (จื้อ) (ชะเอมเทศผัดน้ำผึ้ง) ตัวยาเสริม หวาน อุ่น เสริมชี่ บำรุงส่วนกลาง ปรับ ประสานตัวยาทั้งหมดให้เข้ากัน
当归ตังกุย (โกฐเชียง) ตัวยาช่วย หวานเผ็ด อุ่น บำรุงเลือด ช่วยให้เลือดมีการ หมุนเวียน ปรับประจำเดือน ระงับ ปวด ช่วยให้ลำไส้มีความชุ่มชื้น
白芍ไป๋เสา ตัวยาช่วย ขม เปรี้ยว อมหวาน เย็น เล็กน้อย เสริมยินเลือด ปรับประจำเดือน และปรับสมดุลชี่ของตับ ระงับปวด เก็บกักยินชี่ ระงับเหงื่อ
薄荷ป๋อเหอ ตัวยานำพา เผ็ด เย็น ขับกระจายลมร้อนที่กระทบต่อ ร่างกาย ระบายความร้อน ช่วยให้ ศีรษะและสายตาสดใส ลำคอโล่ง กระทุ้งโรคหัด ผ่อนคลายตับ คลายเครียด

รูปแบบยาในปัจจุบัน
ยาน้ำ ยาลูกกลอน ยาผง ยาต้ม

ที่มา : กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

Visitors: 107,460