ฝังเข็มรักษาโรค
การแพทย์แผนจีน เป็นวิธีการบำบัดรักษาความเจ็บป่วย โดยอาศัยการตรวจวินิจฉัยแบบองค์รวม ด้วยการซักประวัติ การสังเกตวิเคราะห์ และการจับชีพจร ซึ่งต้องอาศัยความละเอียดอ่อนละความชำนาญเป็นพิเศษ ใช้วิธีการรักษาแบบธรรมชาติ โดยมุ่งหวังที่จะปรับระบบการทำงานของร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ชนิดการรักษา
การฝังเข็มร่างกาย (Body Acupuncture)
การฝังเข็มที่ศีรษะ (Scalp Acupuncture)
การฝังร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า (Electro Acupuncture)
การฝังเข็มหรือ Magnetic Ball บนใบหู (Ear Acupuncture)
การเจาะปล่อยเลือด (Blood Letting)
การครอบแก้ว (Cupping)
การรมยา (Moxibution)
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม ได้แก่
กลุ่มอาการ Office syndrome ได้แก่ กลุ่มอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดเข่า ปวดไมเกรน ปวดศีรษะ
อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคอัมพาตใบหน้า
โรคทางหู เช่น มีเสียงดังผิดปกติในหู หูดับ
โรคภูมิแพ้ หวัดเรื้อรัง และหอบหืด
โรคเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
โรคทางผิวหนัง เช่น สิว ฝ้า ผมร่วง งูสวัด ผื่นต่างๆ
โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ท้องผูก
โรคความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ
อาการปลายประสาทชาจากโรคเบาหวาน
ลดความอ้วน และเพิ่มน้ำหนักในคนผอม
เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ
วัยทองทั้งหญิงและชาย
โรคอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
สตรีตั้งครรภ์
โรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
โรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
โรคที่ต้องการการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน