ศาสตร์ฝังเข็ม (Acupuncture)

ในสมัยก่อนชาวจีน อาศัยวิชาการแพทย์แผนโบราณ เป็นระบบการแพทย์หลักของสังคม วิธีการรักษาโรคที่เป็นหลัก ได้แก่ การฝังเข็มและการใช้ยาสมุนไพรในคัมภีร์ หวงตี้เน่ยจิง เมื่อ 3,000 กว่าปีก่อน มีการกล่าวถึงโรคชนิดต่าง ๆ 100 กว่าโรค แต่ระบุให้ใช้ยารักษาเพียง 13 โรคเท่านั้น ที่เหลือทั้งหมด แนะนำให้ใช้การฝังเข็มรักษาทั้งสิ้น จึงเห็นได้ว่า การฝังเข็ม มีประโยชน์ในการรักษามากกว่าการใช้ยาสมุนไพร
 
คำถามจึงเกิดขึ้นว่า “การฝังเข็มยังสามารถเอามาใช้รักษาโรคได้ผลเหมือนกับการรักษาตามการแพทย์แผนตะวันตก       หรือไม่ “
 
จากการรวบรวมข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ พบว่า นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1959 ถึง ค.ศ.1985 ในประเทศจีนมีการวิจัยทดลองฝังเข็มรักษาโรคต่างๆ นับเป็นจำนวนมากถึง 1,114 โรค เมื่อจัดเป็นหมวดหมู่แล้วพบว่า การฝังเข็มสามารถใช้รักษาโรคที่พบได้บ่อยประมาณ 258 ชนิด
 
นอกจากนี้แล้ว บรรดาประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็ได้นำเอา ศาสตร์การฝังเข็มไปทดลองรักษาโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่นกัน เพื่อพิสูจน์ว่า ศาสตร์การฝังเข็มมีประโยชน์ในการรักษาโรค ตามคำอ้างของจีนจริงหรือไม่
 
ในปี ค.ศ. 1979 องค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ หรือ WHO (World Health Organization) ได้ตั้งคณะกรรมการการศึกษาประโยชน์ของการฝังเข็มในการรักษาโรคต่างๆ ว่า มีความเป็นไปได้อย่างไรบ้าง จาการพิจารณาข้อมูลทางคลีนิกองค์การอนามัยโลก จึงได้ประกาศรายชื่อ อาการหรือโรค ที่สามารถฝังเข็มรักษาได้ผลจริงจำนวน 240 โรค เป็นการแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้การฝังเข็มจะมีกำเนิดจากการแพทย์แผนโบราณก็ตาม แต่ก็สามารถใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้ผลจริง
 
การฝังเข็มไม่เพียงแต่ จะช่วยทำหลอดเลือด บริเวณที่ปักเข็มขยายตัวเท่านั้นแต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกาย จะมีการขยายตัวเท่านั้น แต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกาย จะมีการขยายตัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย ทำให้เนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้รับสารอาหาร และขจัดของเสียที่คั่งค้างได้ดีกว่า การฝังเข็มยังสามารถออกฤทธิ์กระตุ้น เพื่อปรับการทำงาน ของอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดฝังเข็มได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด “เนยกวาน” บนเส้นลมปราณเยื่อหุ้มหัวใจ ที่อยู่บริเวณข้อมือ สามารถปรับการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะและสามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจ ขยายตัวได้ เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด “จู๋ซานหลี่” ของเส้นลมปราณกระเพาะอาหาร ที่อยู่บริเวณหน้าแข้ง สามารถกระตุ้นทำให้กระเพาะอาหารที่
หดเกร็ง มีการคลายตัวและบีบตัวเป็นจังหวะดีขึ้น สามารถปรับการหลั่งของกรดในผู้ป่วย ที่มีภาวะกรดกระเพาะอาหารมากเกินไปให้ลดน้อยลง สู่สภาพปกติได้
 
ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ สำหรับการแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะไม่สามารถอธิบายกลไก การเกิดปรากฎการณ์เหล่านี้ได้ จากความรู้ทางการแพทย์ที่มีอยู่แต่เดิม อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ ระบบประสาทและการค้นคว้าในด้านการฝังเข็ม พบว่า
 
การฝังเข็ม สามารถกระตุ้นสมอง ให้มีการหลั่งสารสื่อสานประสาท (neurotransmitters) ออกมาหลายชนิด ที่สำคัญคือ เอนดอร์ฟิน (ndorphins) สารตัวนี้มีฤทธิ์ระงับปวดที่แรงมาก ประมาณว่าแรงกว่ายามอร์ฟีนถึง 1,000 เท่า การฝังเข็ม จึงมีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวด ให้แก่ร่างกายได้ดีมากอีกด้วย
 
ฤทธิ์ในการปรับการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ด้วยการฝังเข็มนั้น มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า “ทวิภาพ” (Biphasic effect)
 
หมายความว่า การฝังเข็ม ณ จุดเดียวกัน สามารถปรากฏผลออกมาได้ 2 แบบ คือ “กระตุ้น” ให้อวัยวะทำงานเพิ่มขึ้น หรือ “ยับยั้ง” ให้อวัยวะทำงานลดลงก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะของอวัยวะ หรือร่างกายของผู้ป่วยในขณะนั้นด้วย
 
กล่าวคือ ถ้าอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานน้อยเกินไป การฝังเข็มจะออกฤทธิ์ “กระตุ้น” ให้มันทำงานเพิ่มขึ้นมาสู่ระดับปกติ (normal function)
 
ในทางตรงกันข้าม ถ้าอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานมากเกินไปการฝังเข็ม
กลับจะออกฤทธิ์ “ยับยั้ง” ทำให้มันทำงานลดน้อยลงไปสู่ระดับปกติได้
 
ตัวอย่าง ถ้าหัวใจมีอัตราการเต้นเร็วกว่าปกติ เช่น เร็วเกินกว่า 100 ครั้งต่อนาทีการฝังเข็มสามารถจะยับยั้ง ให้มันเต้นช้าลงมา อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที 
ตรงกันข้าม ถ้าหัวใจเต้นช้า เช่น น้อยกว่า 40 ครั้งต่อนาทีเมื่อฝังเข็มก็จะสามารถกระตุ้นให้มันเต้นเร็วขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
 
อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยคนนั้น มีอัตราการเต้นหัวใจ อยู่ในสภาวะปกติอยู่แล้วการฝังเข็มกระตุ้นมักจะไม่มีผล ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนเป็นผิดปกติไปได้ ต่างไปจากการใช้ “ยา” ยาจะมีฤทธิ์เพียง อย่างหนึ่ง อย่างเดียว เท่านั้น คือ “กระตุ้น” หรือไม่ก็ “ยับยั้ง”
 
ในกรณีที่หัวใจเต้นช้า เราอาจฉีดยา อะโทรปิ่น (atropine) เพื่อกระตุ้นเร่งหัวใจให้เต้นเร็วขึ้นได้ ถ้าหัวใจเต้นเร็วอยู่แล้ว หากเรายังฉีดยา อะโทรปิ่น ให้แก่ผู้ป่วยเข้าไปอีก หัวใจก็จะยิ่งเต้นเร็วขึ้น จนอาจเกิดอันตราย ให้แก่ผู้ป่วยได้ในที่สุด
 
แต่ถ้าฝังเข็ม ผลที่ปรากฏออกมาจะมี 2 แบบ เท่านั้นคือ หัวใจเต้นช้าลงมาสู่ปกติ หรือไม่ก็ 
ยังคงเต้นเร็วอยู่เท่าเดิม การฝังเข็ม จะไม่สามารถทำให้หัวใจที่เต้นเร็วอยู่แล้ว ยิ่งเต้นเร็วขึ้นไปอีก อย่างแน่นอน
 
การฝังเข็ม จึงไม่มีอันตราย จากการใช้เกินขนาด (overdose) หรือการเกิดพิษ (intoxication) เหมือนเช่นกับการใช้ยา
 
อย่างไรก็ตาม การฝังเข็มมิใช่ “เข็มวิเศษ” ที่สามารถรักษาโรคได้ทุกโรค ถ้าเป็นโรคที่มีสภาพของอวัยวะ เสียหายรุนแรง เป็นเรื้อรังมานาน ผู้สูงอายุวัยชราที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมสภาพมาก ไม่ว่าจะฝังเข็มกระตุ้นอย่างไรร่างกายก็อาจจะไม่ตอบสนอง การรักษาอาจจะไม่ได้ผลดีตามคิดเอาไว้ก็ได้
 
50 ปีที่ผ่านมานี้ ความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำให้เราได้เข้าใจกลไกการักษาโรคด้วย การฝังเข็ม เป็นอย่างมากทีเดียว
Visitors: 109,494